ผลจากการศึกษาพบว่าชนเผ่าลัวะเป็นกลุ่มคนที่อาศัยอยู่บริเวณจังหวัดน่านของประเทศไทย มีประเพณีความเชื่อและพิธีกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองคือ พิธี "สลด" โดย "ปิ๊ห์" เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงประกอบพิธีโสลดและมีความสำคัญมากต่อวิถีชีวิตของชนเผ่าลัวะ เครื่องดนตรีชนิดนี้เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงเป็นกลุ่มใหญ่ๆ จึงเสมือนว่าเป็นศูนย์รวมของชาวบ้านในการถ่ายทอดความรู้สึกทางวัฒนธรรม ลักษณะทางกายภาพของ "ปิ๊ห์" เป็นเครื่องดนตรีที่ผลิตจากไม้ไผ่ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ไม้เฮียะ" มีทั้งหมด10 ชุด แต่ละชุดมีเสียงที่ตายตัวแตกต่างกัน ด้านลักษณะเฉพาะทางดนตรีของ "ปิ๊ห์" พบว่าเป็นเพลงที่มีรูปแบบเดียว มีลักษณะการบรรเลงที่ซ้ำไปซ้ำมา ส่วนใหญ่แล้วเพลงที่บรรเลงโดย "ปิ๊ห์" ใช้กระสวนจังหวะที่เหมือนกันและใกล้เคียงกัน ด้านการเคลื่อนที่ของทำนองมีอยู่6ลักษณะคือ ทำนองแบบซ้ำตัวโน้ต แบบสลับฟันปลา แบบขาลงและขาขึ้น แบบขาขึ้นและขาลง และแบบขาลง (หน้า ง)