
Subject | กะเหรี่ยง, ลัทธิฤาษี, ตาก, ประเทศไทย, ประเทศพม่า, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
Author | ภาสกร ภูแต้มนิล |
Title | กระบวนการปรับตัวของพลังอำนาจกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงลัทธิฤาษีบริเวณตะเข็บชายแดนไทย-พม่า |
Document Type | วิทยานิพนธ์ |
ชาวกะเหรี่ยงบ้านเลตองคุ มีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งการต่อรอง การยอมรับ การผสมผสาน และการประนีประนอมทางวัฒนธรรม โดยการยอมรับการศึกษาจากส่วนกลาง การรักษาพยาบาล การแต่งกาย และวิถีการบริโภคภายใต้ระบบตลาด |
Original Language of Text | - |
Spatial | ตำบลแม่จัน อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ประเทศไทย |
Year | 2549 |
ลัทธิฤาษีบริเวณตะเข็บชายแดนไทย-พม่า เป็นความเชื่อตามลัทธิของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโปและสะกอที่เรียกกลุ่มตนเองว่า “ตะละกู่” ซึ่งมีถิ่นฐานเดิมในเมืองกะยาอิงและขวยกะบอง ประเทศพม่า ซึ่งต่อมาได้อพยพหนีภัยสงครามเข้ามายังลุ่มน้ำแม่จัน จังหวัดตาก ลุ่มน้ำสุริยะ รัฐกะเหรี่ยง ในประเทศพม่า ลัทธินี้มีความเชื่อว่ามีต้นกำเนิดก่อนศาสนาพุทธ มีการผสมผสานความเชื่อทั้งผี พรามหณ์ พุทธตามหลักจักรวาลวิทยา
การศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อทำความเข้าใจมิติพื้นที่วัฒนธรรมลัทธิกะเหรี่ยงฤาษีซึ่งไม่สามารถกำหนดเขตแดนได้อย่างชัดเจน การศึกษากำหนดพื้นที่ศูนย์กลางวัฒนธรรม คือ บ้านเลตองคุ ตำบลแม่จัน อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเกิดขึ้นหลังจากที่พื้นที่วัฒนธรรมถูกแบ่งออกเป็น 2 พื้นที่ประเทศอันเป็นผลจากสนธิสัญญาแบ่งพรมแดนระหว่างสยามกับพม่า รัฐไทยใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในการเข้ามาจัดการพื้นที่ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะสิทธิการเป็นพลเมืองรัฐ ส่งผลให้มีการปรับตัวเพื่อเอาตัวรอดด้วยการขัดขืนต่อรอง ยอมรับ ผสมผสาน และประนีประนอม ในด้านวัฒนธรรม มีการปรับตัวยอมรับการศึกษาส่วนกลาง การเผยแผ่ศาสนาคริสต์และพุทธ การรักษาพยาบาล การแต่งกาย และการบริโภคอาหาร, ด้านสังคม ปรับตัวยอมรับอุดมการณ์รัฐชาติ การพัฒนากระแสหลัก และเทคโนโลยีสมัยใหม่ และด้านเศรษฐกิจ ปรับตัวใช้ทรัพยากรข้ามพรมแดนร่วมกับพม่าและยอมรับระบบตลาด
การศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อทำความเข้าใจมิติพื้นที่วัฒนธรรมลัทธิกะเหรี่ยงฤาษีซึ่งไม่สามารถกำหนดเขตแดนได้อย่างชัดเจน การศึกษากำหนดพื้นที่ศูนย์กลางวัฒนธรรม คือ บ้านเลตองคุ ตำบลแม่จัน อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเกิดขึ้นหลังจากที่พื้นที่วัฒนธรรมถูกแบ่งออกเป็น 2 พื้นที่ประเทศอันเป็นผลจากสนธิสัญญาแบ่งพรมแดนระหว่างสยามกับพม่า รัฐไทยใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในการเข้ามาจัดการพื้นที่ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะสิทธิการเป็นพลเมืองรัฐ ส่งผลให้มีการปรับตัวเพื่อเอาตัวรอดด้วยการขัดขืนต่อรอง ยอมรับ ผสมผสาน และประนีประนอม ในด้านวัฒนธรรม มีการปรับตัวยอมรับการศึกษาส่วนกลาง การเผยแผ่ศาสนาคริสต์และพุทธ การรักษาพยาบาล การแต่งกาย และการบริโภคอาหาร, ด้านสังคม ปรับตัวยอมรับอุดมการณ์รัฐชาติ การพัฒนากระแสหลัก และเทคโนโลยีสมัยใหม่ และด้านเศรษฐกิจ ปรับตัวใช้ทรัพยากรข้ามพรมแดนร่วมกับพม่าและยอมรับระบบตลาด