กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวไทเขินในชุมชนนันทาราม ตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

อิสราภรณ์ พัฒนวรรณ
ผู้เข้าชม : 164
Subject ไทเขิน,การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม,เชียงใหม่,ภาคเหนือ,ประเทศไทย,เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Author อิสราภรณ์ พัฒนวรรณ
Title กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวไทเขินในชุมชนนันทาราม ตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
Document Type วิทยานิพนธ์
ชาวไทขึนมีการปรับตัวภายใต้การเป้นพลเมืองของรัฐชาติ โดยการยอมรับวัฒนธรรมการแต่งกายแบบล้านนา การใช้ภาษาคำเมือง ในขณะเดียวกัน ยังมีความพยายามในการรักษาอัตลักษณ์งานหัตถกรรมเครื่องเขิน และน้ำหนัง ซึ่งเป็นอาหารชาติพันธุ์
Original Language of Text ภาษาไทย
Spatial ตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
Year 2552

การศึกษาความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวไทเขิน กรณีศึกษาบ้านนันทาราม ตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มุ่งเน้นการอธิบายถึงผลของการปรับตัวจากการเป็นพลเมืองของเชียงใหม่ ซึ่งเริ่มตั้งแต่การอพยพเข้ามายังเชียงใหม่จากเมืองเชียงตุง ประเทศพม่าในปี พ.ศ. 2350 ในช่วงเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง เพื่อฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ในสมัยพระเจ้ากาวิละ โดยเข้ามาในฐานะของ “เจ้านอกเมือง” ที่ไม่ใช่เชลยศึก อันสะท้อนให้เห็นถึงนโยบายของเจ้าเมืองเชียงใหม่ที่ปกครองแบบผสมกลมกลืน เรื่อยมาจนถึงยุคสมัยที่เชียงใหม่เป็นประเทศราชของสยาม และนโยบายหลังจากการผนวกเชียงใหม่เป็นส่วนหนึ่งของรัฐชาติสยาม จนกระทั่ง พ.ศ. 2551

การศึกษาพบความเปลี่ยนแปลงสำคัญ คือ ชาวไทเขินต้องปรับตัวภายใต้กรอบของการเป็นพลเมืองของรัฐชาติและระบบเศรษฐกิจหลังทุนนิยม ในลักษณะการผสมกลมกลืนทางสังคมและวัฒนธรรมโดยมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากการปฏิรูปการปกครอง ระบบทุนนิยม ระบบการศึกษาของรัฐ และนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของรัฐ

ทั้งนี้ พบว่ามีการปรับตัวในระดับแรก คือ การยอมรับวัฒนธรรมการแต่งกายล้านนา การใช้ภาษาคำเมือง (ภาษาไทยถิ่นเหนือ) แทนภาษาไทเขิน และในระดับที่สอง คือ การปรับตัวไปพร้อมกับชาวพื้นเมืองเชียงใหม่ในช่วงสยามผนวกล้านนาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐชาติ ท้ายที่สุดมีการผสมกลมกลืนทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวไทเขินกับคนในเชียงใหม่ คนในภาคกลาง ความเป็นไทยที่รัฐเป็นผู้กำหนดขึ้น และวัฒนธรรมตะวันตก

อย่างไรก็ดี ชาวไทเขินยังคงมีความพยายามในการรักษาอัตลักษณ์งานหัตถกรรม “เครื่องเขิน” และ “น้ำหนัง” ซึ่งเป็นอาหารที่ยึดถือการสืบทอดร่วมกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยมี “วัดนันทาราม” เป็นศูนย์กลางทั้งทางด้านศาสนาและวัฒนธรรม


close
ลืมรหัสผ่าน?
กรุณากรอกอีเมลที่ท่านสมัครสมาชิกไว้เพื่อรับรหัสผ่านใหม่
ระบบจัดส่งการสร้างรหัสผ่านใหม่ให้ท่านทางอีเมลเรียบร้อยแล้ว
นโยบายความเป็นส่วนตัว