'ประวัติการอพยพเคลื่อนย้ายของชาวไทพวนในประเทศไทย' และ 'ลักษณะทั่วไปของชาวไทยพวน ในเขตอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี'

ปรารถนา แซ่อึ้ง
ผู้เข้าชม : 2386
Subject พวน,ประวัติศาสตร์,การอพยพ,บ้านหมี่,ลพบุรี
Author ปรารถนา แซ่อึ้ง
Title 'ประวัติการอพยพเคลื่อนย้ายของชาวไทพวนในประเทศไทย' และ 'ลักษณะทั่วไปของชาวไทยพวน ในเขตอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี'
Document Type บทความ
ถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวไทพวน อยู่ทางตอนเหนือของประเทศลาว ต่อมาคนกลุ่มนี้ถูกกวาดต้อนเข้ามาอยู่ในประเทศไทยบริเวณอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี มีการอยู่อาศัยร่วมกันแบบเครือญาติ นับถือศาสนาพุทธ แต่งกายด้วยผ้ามัดหมี่
Original Language of Text ภาษาไทย
Spatial ตำบลงอบ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดลพบุรี ประเทศไทย
Year 2539
ไทพวนเดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองพวนและเมืองเชียงขวางทางตอนเหนือของประเทศลาว ต่อมาถูก "กวาดต้อน" เข้าสู่ประเทศไทยในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และสมัยรัชกาลที่ 3 ไทพวนที่อยู่ในอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากลาวพวน ซึ่งอพยพมาจากเวียงจันทน์เข้ามาอยู่ตั้งแต่สมัยเจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏ ครั้งแรก ไทพวนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ที่ "บ้านเซ่า" จังหวัดลพบุรี และต่อมาในปี พ.ศ. 2482 "บ้านเซ่า" ก็ถูกเปลี่ยนเป็น "อำเภอบ้านหมี่" ไทพวนมีผิวขาวเหลืองและมีรูปร่างหน้าตาคล้ายคลึงกับลาวพวกอื่น ๆ มีความขยัน รักสงบ โอบอ้อมอารี และรักพวกพ้อง พูดภาษาตระกูลไต อยู่ร่วมกันเป็นสังคมเครือญาติ นับถือศาสนาพุทธ นิยมแต่งกายด้วยด้วย "ผ้ามัดหมี่" อยู่บ้านเป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูง พื้นกระดานเป็นไม่แผ่นใหญ่ ๆ หนาและแข็งแรง ใต้ถุนมีคอกวัว เมื่อขึ้นบันใดไปจะพบชานบ้านที่กว้างขวาง มีเรือนครัวอยู่ด้านในสุด ด้านตรงข้ามเรือนครัวทางขวาของบันไดมีเรือนเล็กหลังหนึ่ง ตัวเรือนใหญ่อยู่ด้านซ้ายมีโถงกว้าง

ป้ายกำกับ ไทพวน บ้านหมี่
close
ลืมรหัสผ่าน?
กรุณากรอกอีเมลที่ท่านสมัครสมาชิกไว้เพื่อรับรหัสผ่านใหม่
ระบบจัดส่งการสร้างรหัสผ่านใหม่ให้ท่านทางอีเมลเรียบร้อยแล้ว
นโยบายความเป็นส่วนตัว