ลัวะ (มัล ปรัย) มีอัตลักษณ์สำคัญในการสืบสายตระกูลที่เอื้อต่อการกำหนดข้อห้ามด้านการแต่งงาน ครัวเรือนแต่ละหลังจึงมีวันกำ หรือหยุดงานแตกต่างกันเพื่อแสดงให้เห็นว่า ลูกหลานในตระกูลที่มีวันกำเดียวกันจะไม่สามารถแต่งงานกันได้ ด้านการดำรงชีพ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพกสิกรรม ได้แก่ ทำนา ทำไร่ ทำสวน และเลี้ยงสัตว์ ในช่วงเวลาว่าง ผู้หญิงจะทอผ้า ตำข้าว จักสานตะกร้า และกระบุง ส่วนผู้ชายจะเข้าป่าล่าสัตว์ ปัจจุบัน ชาวลัวะประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ปลูกข้าว มัน งา เผือก รวมถึงมีการเลี้ยงสัตว์เพื่อนำมาบริโภคภายในครัวเรือนและนำไปเป็นของเเลกเปลี่ยนสินค้าที่ต้องการ มีบางส่วนเป็นแรงงานรับจ้างนอกหมู่บ้าน ในชุมชนของชาวลัวะ (มัล ปรัย) จะไม่มีร้านค้า จึงไม่มีการซื้อขายสิ่งอุปโภคบริโภค แต่จะมีการแบ่งปันอาหารให้กันและกัน โดยเฉพาะในฤดูกาลที่ขาดแคลน ซึ่งสะท้อนให้เห็นวิถีการดำรงชีพที่พึ่งพาธรรมชาติและวิถีการเอื้อเฟื้อเฟื้อเผื่อแผ่ระหว่างผู้คนในชุมชน ุ
ชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ : ลัวะ (มัล, ปรัย)
ชื่อเรียกตนเอง : มัล, ลัวะมัล, ปรัย, ไปร, ลัวะปรัย
ชื่อที่ผู้อื่นเรียก : ลัวะ, ถิ่น
ตระกูลภาษา : ออสโตรเอเชียติก
ตระกูลภาษาย่อย : มอญ-เขมร
ภาษาพูด : -
ภาษาเขียน : -